วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเมืองภาคพลเมือง

การเมืองภาคพลเมือง หมายถึงการที่ประชาชน

• ได้เข้าไปมีบทบาท ส่วนร่วมในกิจกรรมและกระบวนการทางการเมือง เพื่อการกำหนดแผนงาน การผลักดันนโยบายสาธารณะต่อสังคม
• มีส่วนร่วมในการตัดสินใจขององค์กรทางการเมือง และ ระบบราชการ ในทุกระดับ
• ส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินการทั้งในการเมืองและงานสาธารณะ
• ได้การดำเนินกิจกรรม ที่เป็นผลต่อการกระตุ้น การส่งเสริมให้ เกิดความตระหนักและกระตือรือร้น ที่จะเข้าไปมีบทบาท ในกระบวนการดังกล่าว
๑. การเข้าไปมีบทบาท / ส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง ต้องมีเป้าประสงค์ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
๒.กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หมายถึงกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กิจกรรมที่ปกติถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐ แต่รัฐยังทำหน้าที่ได้ไม่ครบถ้วน เป็นกิจกรรมที่ยังหาเจ้าภาพที่แท้จริงมิได้ กลุ่ม องค์กร เครือข่าย จึงรวมตัวกันดำเนินกิจกรรมตามลำพังหรือร่วมกับภาคีอื่น ๆ หรือร่วมกับองค์กรภาครัฐก็ได้
๓.การดำเนินกิจกรรมของ กลุ่ม องค์กร เครือข่าย ต้องมีลักษณะที่ต่อเนื่องเป็นที่รับรู้ของสังคม การบริหารงานของกลุ่ม องค์กร เครือข่าย ต้องให้สมาชิกมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ และตัดสินใจร่วมกัน ภายใต้วิถีวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น
การเมืองภาคพลเมือง จึงเป็นเรื่องของทุกคนที่พร้อมแสดงออกทางความคิด การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต่อสาธารณะ และสุดท้ายพลังของพลเมืองจึงกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ด้วยตนเอง
สำนึกพลเมืองจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่คุณมีจิตสาธารณะ และเมื่อได้ลงมือปฏิบัติในหน้าที่ของพลเมืองด้วยแล้ว สังคมจะอยู่เย็นเป็นสุขด้วยมือคุณทันที
ชาติชาย เหลืองเจริญ มหาวิทยาลัยบ้านนอก ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓
หมายเหตุ เป็นการรวมรวบ รับฟังผู้รู้จากพื้นที่ปฏิบัติการจริง นำมาเรียบเรียงเพิ่มเติมเพื่อที่จะเรียนรู้ร่วมกันต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น