วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

ธนาคารขยะและสิ่งแวดล้อมบ้านจำรุง ปี ๒๕๔๕ เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำรุง ได้หารือถึงแนวทางในการจัดการขยะในชุมชน ที่ประชุมเสนอว่าควรจัดตั้งธนาคารขยะ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะให้กับตำบล โดยเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมด้วยการระดมทุน คนละ ๑๐๐ บาท และจัดหาสถานที่ตั้งธนาคารที่บริเวณหน้าบ้านของ ป้ากิมฮ่อง ก่อเกื้อ ขณะเดียวกันได้ประชาสัมพันธ์ผ่านรายการต่าง ๆ ของวิทยุชุมชนพลเมืองบ้านจำรุง จากการระดมทุนอยู่ ๑ เดือนจึงขายหุ้นให้กับสมาชิกได้ ๙๑ ครอบครัว กิจกรรมเริ่มต้นด้วยเงิน ๙,๑๐๐ บาทและได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) อีก ๓๐,๐๐๐ บาท เริ่มดำเนินการเปิดซื้อทุกวันพุธช่วงบ่าย สัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง ทำให้ขยะในชุมชนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเป้าหมายใช้ธนาคารขยะเป็นเครื่องมือสร้างเสริมสุขภาวะและขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ ในปีถัดมา กองทัพมดบ้านจำรุงได้ร่วมกับสาราวัตรขยะ(นายภูมิทัต ดีนาน) เก็บขยะข้างถนน ส่งผลต่อชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม “ขยะเป็นเงินไปธนาคาร ขยะเป็นปุ๋ยไปกลุ่มเกษตรพื้นบ้าน ขยะข้างถนนอยู่ในมือกองทัพมด” เด็กชายธนวัน มัจฉาหรือซุปเปอร์เคน หัวหน้ากองทัพมด บอกกับทุกคน ปี ๒๕๕๐ องค์กรปกครองท้องถิ่น เริ่มนำแนวทางของการจัดการขยะไปขยายผลในชุมชนอีก ๘ แห่งในตำบลเนินฆ้อ มีการสนับสนุนอย่างจริงจังในระยะต่อมา ทั้งโครงการขยะแลกแต้ม โครงการอุ้มลูกจูงหลานไปวัดและนำขยะไปแลกแต้มในทุกวันอาทิตย์ โครงการหน้าบ้านน่ามอง ส่วนเครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำรุงสนับสนุนกิจกรรม ๑ ครัวเรือน ๑ ปลอกบ่อเพื่อปลูกผักบริเวณหน้าบ้าน ด้วยศรัทธาและเชื่อมั่นในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการสนับสนุนของ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ในระยะเริ่มต้น การพัฒนาต่อยอดของ เทศบาลตำบลเนินฆ้อ ในระยะต่อมา ประสานการทำงานในแบบของชาวบ้านที่เรียกว่างาน เครือข่ายองค์กรชุมชน ที่มองเห็นทุนทางสังคมในพื้นที่และได้ร่วมเรียนรู้ ช่วยกันทำงาน จนได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ทำให้กลุ่มธนาคารขยะและสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือสำคัญอีกชิ้นหนึ่งในงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น “ต้องไม่มีขยะในธนาคารภายใน ๑๐ ปี” สมาชิกคนหนึ่งบอกกับทุกคน ตลอดระยะเวลาของการเรียนรู้ สังคมได้รับประโยชน์มากมายจากกิจกรรมดังกล่าว ทั้งชุดประสบการณ์ตรงจากการปฎิบัติการจริง สุขภาวะของหมู่บ้าน ตำบล รายได้เสริม ทำให้ผู้คนในชุมชนท้องถิ่นมีความเชื่อมั่นในการพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น เกิดแรงเหวี่ยงไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศ ที่จะพากันเดินไปสู่เป้าหมาย “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข ชีวิตมั่นคง พึ่งพาตนเองได้ บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยมือของพลเมือง ศูนย์ประสานงาน เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำรุง มหาวิทยาลัยบ้านนอก สภาองค์กรชุมชนตำบลเนินฆ้อ www. Banjumrung.org โทรศัพท์ ๐๘๗๘๑๗๘๐๓๐ / ๐๘๗๑๔๓๗๕๗๖
กลุ่มโฮมสเตย์บ้านจำรุง (HOMESTAYBANJUMRUNG) ปี ๒๕๔๕ เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำรุง ได้ชักชวนสมาชิกของเครือข่าย ฯ จัดตั้ง กลุ่มโฮมสเตย์บ้านจำรุง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในงานสุขภาพเชิงรุก และสร้างเสริมสุขภาวะในงานฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น มี บ้านป้ากิมห่อง ก่อเกื้อ เป็นบ้านตัวอย่างต้นแบบและขยายผลไปในระดับหมู่บ้านและตำบลในระยะต่อมา เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง จึงมีผู้เข้าร่วมมากขึ้น ด้วยแนวทางการทำงานที่ชัดเจน ๔ เรื่อง คือ ๑.หน้าบ้านสะอาด ๒.ในบ้านเป็นระเบียบ ๓.เครื่องนอนพอดูได้ และ๔.สื่อสารงานพัฒนาอย่างเข้าใจ จีงกลายเป็นรูปแบบ ที่เรียกกันติดปากต่อมาว่า “เสื่อผืน หมอนใบ มุ้งหนึ่งหลัง ต้อนรับเสมือนญาติ” และ ”นอนหนึ่งคืน ครึกครื้นหนึ่งปี” ปี ๒๕๕๐ กลุ่มโฮมสเตย์บ้านจำรุง ได้รับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย มีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาหนุนเสริมและพัฒนาจนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญให้กับชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ มีนักเดินทางมาพักตลอดทั้งปี เชื่อมโยงการทำงานกับกลุ่มกิจกรรมอื่น ๆ เช่นกลุ่มอาหาร กลุ่มรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น กลุ่มศิลปะการแสดงกองทัพ กลุ่มแปรรูปผลผลิต กลุ่มธนาคารขยะ ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ฯ จนเป็นรูปธรรม มีการจัดการความรู้ของ มหาวิทยาลัยบ้านนอก นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมวงกว้าง ด้วยศรัทธาและเชื่อมั่นในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการสนับสนุนของ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ในระยะเริ่มต้น การพัฒนาต่อยอดของ กรมการท่องเที่ยว ในระยะต่อมา ประสานการทำงานในแบบของชาวบ้านที่เรียกว่างาน เครือข่ายองค์กรชุมชน ที่มองเห็นทุนทางสังคมในพื้นที่และได้ร่วมเรียนรู้ ช่วยกันทำงาน จนได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ทำให้กลุ่มโฮมสเตย์บ้านจำรุง เป็นเครื่องมือสำคัญอีกชิ้นหนึ่งในงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
ตลอดระยะเวลา ๑๐ ปีของการเรียนรู้ กลุ่มโฮมสเตย์บ้านจำรุง ได้รับประสบการณ์มากมายจากการปฎิบัติการจริง ความเห็นต่าง ความเห็นร่วม ความสุข ความมั่นคงแห่งชีวิต รายได้เสริม ที่สำคัญชุมชนท้องถิ่นมีความเชื่อมั่นในการใช้ทุนทางสังคมในพื้นที่ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเอง พึ่งพากันได้มากขึ้น และเกิดแรงเหวี่ยงไปสู่นโยบายสาธารณะในที่สุด “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข ชีวิตมั่นคง พึ่งพาตนเองได้ บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ศูนย์ประสานงาน มหาวิทยาลัยบ้านนอก เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำรุง สภาองค์กรชุมชนตำบลเนินฆ้อ www. Banjumrung.org โทรศัพท์ ๐๘๗๘๑๗๘๐๓๐ โทรสาร ๐๓๘๖๗๐๗๒๑ Email.chartchai04@gmail.com

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

จากใจมหาวิทยาลัยบ้านนอก

เสียงสะท้อนจากมหาวิทยาลัยบ้านนอก บ้านจำรุง จ.ระยอง สามปีก่อน ผมรู้จัก มหานอกวัด ชื่อภิศักดิ์ นับงาม ที่เรียกอย่างนั้น เพราะบุคลิกของเขา กิน อยู่ นอนง่ายๆ มีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงาน วันแรกที่เห็น ทราบเพียงว่าเป็นเจ้าหน้าที่คนใหม่ของสถาบัน มารับงานด้านข้อมูลให้กับการทำงานของขบวนชาวบ้านแบบเรา ผมสับสนพอสมควร เพราะตามจิตนาการของผม คนทำงานข้อมูลคงมีลักษณะที่ไม่ใช่แบบที่เห็น แต่สำหรับเขาต่างกันสิ้นเชิง คือ ขี่จักรยาน ทานข้าวกล่อง นอนสำนักงาน แต่งตัวง่าย ผมนึกถึงพระ แต่นี่เขาไม่ได้บวช ไม่มีผ้าเหลืองห่มกาย ผมจึงขนานนามเขาว่า มหานอกวัด เมื่อร่วมงานกัน ประสบการณ์ด้านไอที สามารถนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมลงตัว สนับสนุนการทำงาน แบบขบวนองค์กรชุมชนชาวบ้านแบบเราๆ ทำเรื่องยาก ให้เป็นเรื่องง่าย ที่สำคัญเขาไม่เคยเบื่อที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน ทั้งๆ ที่พวกเราสอนยากสอนเย็นจริงๆ เขาจากเราไปตามเส้นทางแห่งฝัน ผมขาดการติดต่อกับเขาไประยะหนึ่ง เพราะเส้นทางการทำงาน ทำให้ไม่เจอกัน แต่ยังนึกถึงในสิ่งที่เขาเคยบอกไว้ว่า “ถ้ามีงานอะไรที่พอจะช่วยได้ก็ยินดีเสมอ ขอให้บอก สำหรับงานพัฒนาชุมชนน๊ะ” เมื่อระยะเวลาในการซื้อพื้นที่ของการทำเว็บไซต์หมดลง เราไม่ได้ซื้อพื้นที่ต่อเพราะเราคิดว่า จะนำเงินไปพัฒนาเรื่องอื่นก่อน แต่เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำรุง ยังต้องการทำเว็บไซต์ จู่ๆ ได้รับอีเมล์จากมหานอกวัดว่า “กูเกิ้ลไซต์ให้พื้นที่ฟรี เพื่อการทำเว็บไซต์แล้ว” ถ้าสนใจจะลองเรียบเรียง และลองทำเป็นหลักสูตร คิดเห็นเป็นประการใด ตอบไปว่า “เห็นด้วย เรากำลังรอคอยอยู่ เรียนรู้ และลองทำหลักสูตรไปด้วย เพราะเราจะมีเวทีให้กับแกนนำในตำบลต่างๆ ของจังหวัด“ จึงกลายมาเป็นเว็บไซต์ของบ้านจำรุง และหลักสูตรเรียนรู้กูเกิ้ลไซต์ ฉบับชาวบ้าน ในช่วงถัดมา เว็บไซต์บ้านจำรุง ได้รับการยอบรับพอสมควร ทำให้ชุมชนท้องถิ่นที่ขาดโอกาสได้รับโอกาสทันที จากการที่เข้ามาพบเครื่องมือเขียนเว็บอย่างกูเกิ้ลไซด์ โดยแนะนำเรียนรู้แบบชาวบ้านอย่างเราๆ ขอบคุณท่านมหานอกวัด ที่ให้ผมเขียนเรื่องราวที่ผ่านมา ขอบคุณแทนชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย ที่มีนักไอทีที่เห็นคุณค่าของงานพัฒนาพื้นที่สังคมชนบท เข้าใจแนวทางการทำงานของขบวนองค์กรชุมชน ณ วันนี้ ผมมีเพื่อนร่วมงานอีกคนหนึ่งแล้ว เพื่อนคนนี้ชื่อ ภิศักดิ์ นับงาม ชาติชาย เหลืองเจริญ เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำรุง / มหาวิทยาลัยบ้านนอก http://sites.google.com/site/banjumrung 5 กันยายน 2552

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

โฮมสเตย์บ้านจำรุง มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย

กลุ่มโฮมสเตย์บ้านจำรุง ปี ๒๕๔๕ เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำรุง ได้ชักชวนสมาชิกของเครือข่าย ฯ จัดตั้ง กลุ่มโฮมสเตย์บ้านจำรุง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในงานสุขภาพเชิงรุก และสร้างเสริมสุขภาวะในงานฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น มี บ้านป้ากิมห่อง ก่อเกื้อ เป็นบ้านตัวอย่างต้นแบบและขยายผลไปในระดับหมู่บ้านและตำบลในระยะต่อมา เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง จึงมีผู้เข้าร่วมมากขึ้น ด้วยแนวทางการทำงานที่ชัดเจน ๔ เรื่อง คือ ๑.หน้าบ้านสะอาด ๒.ในบ้านเป็นระเบียบ ๓.เครื่องนอนพอดูได้ และ๔.สื่อสารงานพัฒนาอย่างเข้าใจ จีงกลายเป็นรูปแบบ ที่เรียกกันติดปากต่อมาว่า “เสื่อผืน หมอนใบ มุ้งหนึ่งหลัง ต้อนรับเสมือนญาติ” และ ”นอนหนึ่งคืน ครึกครื้นหนึ่งปี” ปี ๒๕๕๐ กลุ่มโฮมสเตย์บ้านจำรุง ได้รับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย มีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาหนุนเสริมและพัฒนาจนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญให้กับชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ มีนักเดินทางมาพักตลอดทั้งปี เชื่อมโยงการทำงานกับกลุ่มกิจกรรมอื่น ๆ เช่นกลุ่มอาหาร กลุ่มรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น กลุ่มศิลปะการแสดงกองทัพ กลุ่มแปรรูปผลผลิต กลุ่มธนาคารขยะ ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ ฯ จนเป็นรูปธรรม มีการจัดการความรู้ของ มหาวิทยาลัยบ้านนอก นำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมวงกว้าง ด้วยศรัทธาและเชื่อมั่นในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการสนับสนุนของ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ในระยะเริ่มต้น การพัฒนาต่อยอดของ กรมการท่องเที่ยว ในระยะต่อมา ประสานการทำงานในแบบของชาวบ้านที่เรียกว่างาน เครือข่ายองค์กรชุมชน ที่มองเห็นทุนทางสังคมในพื้นที่และได้ร่วมเรียนรู้ ช่วยกันทำงาน จนได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ทำให้กลุ่มโฮมสเตย์บ้านจำรุง เป็นเครื่องมือสำคัญอีกชิ้นหนึ่งในงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ตลอดระยะเวลา ๑๐ ปีของการเรียนรู้ กลุ่มโฮมสเตย์บ้านจำรุง ได้รับประโยชน์มากมายจากกิจกรรมดังกล่าว ทั้งชุดประสบการณ์ตรงจากการปฎิบัติการจริง ความสุข ความมั่นคงแห่งชีวิต รายได้เสริม ทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเชื่อมั่นในการพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น เกิดแรงเหวี่ยงไปสู่นโยบายสาธารณะของประเทศ ที่จะร่วมกันเดินไปสู่เป้าหมาย “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข ชีวิตมั่นคง พึ่งพาตนเองได้ บนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
ศูนย์ประสานงาน มหาวิทยาลัยบ้านนอก เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำรุง สภาองค์กรชุมชนตำบลเนินฆ้อ www. Banjumrung.org โทร.๐๘๗๘๑๗๘๐๓๐ Email.chartchai04@gmail.com